ข่าวประชาสัมพันธ์ » สบอ. 16 ร่วมกับโครงการธรรมชาติปลอดภัย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์ ลงพื้นที่ สำรวจโครงการพื้นที่แปลงปลูกป่าปี 2555

สบอ. 16 ร่วมกับโครงการธรรมชาติปลอดภัย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์ ลงพื้นที่ สำรวจโครงการพื้นที่แปลงปลูกป่าปี 2555

15 ธันวาคม 2021
381   0

Spread the love

สบอ. 16 ร่วมกับโครงการธรรมชาติปลอดภัย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์ ลงพื้นที่ สำรวจโครงการพื้นที่แปลงปลูกป่าปี 2555หลังได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกหลังสำรวจพบว่าป่าแห่งนี้นั้นจะสามารถสามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ 4,288.076 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

 

เมื่อเร็วๆนี้ นางสาวคุณจิราภรณ์ มีวาสนา หัวหน้ากลุ่มวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) นายภูพิชิต ช่วยบำรุง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีลานนาและนายนิพนธ์ มุ่ยเรืองศรี ผู้บริหารโครงการธรรมชาติปลอดภัย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมลงพื้นที่ เข้าสำรวจแปลงปลูกป่า“เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี” เพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่โดยมี พื้นที่ทั้งหมด 100 ไร่ ซึ่งได้ร่วมปลูกไว้ป่าไปเมื่อปี 2555 หลังจากก่อนหน้านี้ ผืนป่าแห่งนี้ได้มีการบุกรุกแผ้วถางทำลายจากราษฎรเป็นไร่หมุนเวียนเพื่อใช้เป็นที่ทำกินจนทำให้ เกิดปัญหาไฟป่าและหมอกควันและเกิดความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่

 


กว่า 9 ปี ทางเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนาและโครงการธรรมชาติปลอดภัยฯ ได้เข้ามาสนับสนุนราษฎรในพื้นที่ร่วมกันปลูกป่า รวมทั้งการบำรุงดูแล ถางวัชพืช ทำแนวกันไฟ รวมทั้งมีการติดตามการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง 3 ปี จนปัจจุบันมีสภาพป่ามีความสมบูรณ์เปลี่ยนจากเขาหัวโล้นเป็นป่าธรรมชาติ

 

 

ซึ่งถือเป็นแปลงปลูกป่าแปลงแรกอุทยานแห่งชาติศรีลานนาร่วมกับโครงการธรรมชาติปลอดภัยบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกได้ประเมินว่าป่าแห่งนี้สามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ 4,288.076 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งจากการสำรวจครั้งนี้ ทางกลุ่มวิชาการฯ จะได้นำไปวางแผนการสำรวจเพื่อประเมินในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งความเพิ่มพูนของป่า ทั้งชนิดพันธุ์พืช และสัตว์ รวมทั้งการกักเก็บคาร์บอนที่เพิ่มขึ้นต่อไป