รอบบ้านรอบเมือง » รื้อแล้วยางมะตอยเททับต้นไม้บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวหลังโซเชียลแห่แชร์หวั่นต้นไม้ตาย

รื้อแล้วยางมะตอยเททับต้นไม้บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวหลังโซเชียลแห่แชร์หวั่นต้นไม้ตาย

9 กุมภาพันธ์ 2023
389   0

Spread the love

ผอ.สบอ.16 ลงพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวให้เจ้าหน้าที่ขุดยางมะตอยและนำหินกรวด ที่เททับต้นไม้  หลังมีผู้ใช้โซเชียลโพสต์การปรับภูมิทัศน์ในพื้นที่อาจส่งผลให้ต้นไม้ยืนต้นตาย

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 9 กพ.66   นายอิศเรศ  สิทธิโรจนกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 พร้อมกับ นางสาว จิราภรณ์ มีวาสนา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) และนายวิทธวัช ทะวาปี นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดรวมพลของนักศึกษาธรรมชาติ ที่จะเดินขึ้นดอยหลวงเชียงดาว

หลังมีผู้ใช้โซเชียลได้มีการนำภาพการเทยางมะตอยลงพื้นที่และผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ไว้ ระบุว่าเป็นภาพของต้นไม้ ที่ถูกยางมะตอยเททับโคนต้นไม้ ถูกระบุว่า เป็นสถานที่ภายในพื้นที่ทำการของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ ถูกราดด้วยยางมะตอยจนมิดโคน

โดยวันนี้ทางนายอิศเรศ  สิทธิโรจนกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16  ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ได้มีการใช้จอบขุดยางมะตอยออกจากพื้นที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งมีการราดยางมะตอยไว้ทั้งหมด ประมาณ  300 ตารางวา ซึ่งมีต้น ยางแดง /อบเชย /ประดู่ มะม่วง/ ตะแบก และพลับพลา รวมทั้งหมด 27 ต้น ซึ่งเป็นไม้ป่าดิบแล้ง ผสมป่าเบญจพรรณ นางสาว จิราภรณ์ มีวาสนา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ ได้แนะนำให้แก้ไข โดยการขุดยางมะตอยและหินกรวดออกให้หมดเพื่อคืนหน้าดินให้กลับเข้าสู่ปกติเพื่อให้รากต้นไม้ประสานกันเหมือนเดิม พร้อมนำเจ้าหน้าที่กลุ่มงานวิชาการเข้าสำรวจพื้นที่และต้นไม้ด้วยว่ามีต้นไม้ต้นใดได้รับผลกระทบหรือไม่

นายอิศเรศ  สิทธิโรจนกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กล่าวว่า หลังมีผู้ใช้โซเชียลได้ลงภาพเมื่อวานนี้ตอนเย็น (วันที่ 8 กพ.66) ท่านอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชก็ได้มีการสั่งการตนจึงได้สั่งการให้หัวหน้าเขตรักษาพันธ์สัตว์เชียงดาวและผู้รับเหมาให้หยุดดำเนินการและหาวิธีแก้ไขโดยด่วนซึ่งวันนี้ก็ได้เข้ามาในพื้นที่พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญในการดูแลต้นไม้เป็นกรณีพิเศษซึ่งเดิมพื้นที่นี้เป็นจุดรวมพลของนักท่องเที่ยวที่จะเดินขึ้นดอยหลวงทุกปีซึ่งทางหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าก็ได้ทำเรื่องเพื่อขอทำที่จอดรถและรวมพลเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีที่พักโดยปีนี้ทางศูนย์วิศวรกรรมเชียงใหม่ได้ดำเนินการซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นข้อผิดพลาดจากการประสานงานในการดำเนินการในพื้นที่ซึ่งมีการเทพื้นชั้นแรกชิดต้นไม้เกินไปซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอยู่แล้วซึ่งทางตนเองต้องขอขอบพระคุณทางผู้ใช้โซเชียลที่ค่อยเป็นหูเป็นตาและกระบอกเสียงที่ให้ทางเจ้าหน้าที่ได้รับทราบข้อเท็จจริงว่าการดำเนินการจะเทพื้นตรงไหนต้องมีการสำรวจก่อนควรหรือไม่ควรอย่างไร และในอนาคตบางพื้นที่หากต้องการมีการพัฒนาสาธารณูปโภคนั้นจะต้องคำนึงถึงต้นไม้เป็นหลักหรือว่าเข้ามาสำรวจก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้อีก

ในส่วนของการแก้ไขปัญหา คือ จัดแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน

1.พื้นที่ส่วนที่เป็นถนนและลานจอดรถ จะคงไว้เป็นถนนทางเข้าและออก ขนาดทางกว้างประมาณ 2 ม. และส่วนที่จะเป็นพื้นที่จอดรถหลักด้านหลัง โดยพื้นที่นี้เป็นรูปตัวยู  เป็นพื้นที่ที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่อยู่แต่เดิม  จะคงหินคลุกบดอัดไว้ แต่ลอกเอาชั้น  Prime Coat ออกทั้งหมด

2.พื้นที่ส่วนที่เหลือ จะทำการลอกชั้นหินคลุกจนถึงระดับผิวหน้าดินเดิมออกทั้งหมด โดยไม่ขุดลึกลงไปมากกว่าระดับผิวดินเดิม ป้องกันไม่ให้กระทบระบบราก  เพื่อคงสภาพพื้นที่กลับมาเป็นสภาพเดิมตามธรรมชาติให้มากที่สุด